เมื่อวันที่ 2 มีนาคม สำนักงานสารนิเทศแห่งคณะรัฐมนตรีจีนได้จัดงานแถลงข่าวผลักดันให้เกิดวัฏจักรทรงคุณธรรมและการพัฒนาอย่างมีคุณภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน เนื้อหาในถ้อยแถลงระบุว่า ในปี 2021 ยอดปล่อยกู้สกุลเงินหยวนเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 20 ล้านล้านหยวน ซึ่งการบริการทางการเงินได้ช่วยยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริงทั้งยังช่วยสนับสนุนให้เกิดการฟื้นตัวและการเติบโตของเศรษฐกิจจีน การตัดสินใจจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งที่ 3 ของประเทศจีน – ตลาดหลักทรัพย์ปักกิ่ง ยังได้กลายเป็นฐานกำลังสำคัญฐานหนึ่งของตลาดเงินรวมถึงสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMESของประเทศอีกด้วย
ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางการกำกับดูแลระบบการเงินของประเทศ กรุงปักกิ่งจึงเป็นที่ตั้งของหน่วยงานบริหารการเงินแห่งชาติ สถาบันการเงินขนาดใหญ่และโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่สำคัญ ในปี 2021 มูลค่าตลาดเงินเติบโตถึง 760.3 พันล้านหยวน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 4.5% การจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ปักกิ่งจึงส่งผลต่อเศรษฐกิจของพื้นที่โดยรอบให้มีการเติบโตก้าวไปอีกขั้น ด้วยฐานะที่ปักกิ่งเป็นตัวกำหนดทิศทางการพัฒนาและการดำเนินงานของภูมิภาคในแง่ศูนย์กลางทางการเงิน จึงมีแนวโน้มที่แน่นอนว่าจะมีธุรกิจด้านการเงินมาตั้งฐานที่นี่กันมากขึ้น
เมื่อมีขุมกำลังทางการเงินใหม่ๆ เข้ามาในเมืองที่เต็มไปด้วยศักยภาพแห่งนี้ ภารกิจสำคัญอย่างแรกที่อยู่ตรงหน้าคือ เราจะเลือกที่ตั้งสำนักงานอย่างไรที่ทั้งช่วยเสริมศักยภาพของบริษัทและได้รับประโยชน์จากการมีธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกันมารวมอยู่ด้วยกัน?
เขตใดจะเป็นเขตที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปักกิ่งซึ่งเป็นเมืองที่ดำเนินกิจการด้านการเงินแห่งนี้ แม้ว่าจะยังมีการถกเถียงกันมากมาย แต่อย่างไรก็หนีไปพ้นเขตหนึ่งนั่นคือ เขต CDB(ย่านศูนย์กลางธุรกิจ) ของกรุงปักกิ่ง
ตามการจัดอันดับของ “รายงานเขตธุรกิจที่น่าดึงดูดของโลก ประจำปี 2020” ย่าน CBD ของกรุงปักกิ่งจัดอยู่ในลำดับที่ 7 ของโลก ซึ่งถือเป็นอันดับหนึ่งของประเทศจีนติดต่อกันอีกหนึ่งปี พื้นที่ส่วนนี้ถือเป็นที่ดินทองคำของประเทศ โดยคาดการณ์ว่าสถาบันการเงินระหว่างประเทศ 70% องค์กรสื่อระหว่างประเทศ 90% และ องค์กรระหว่างประเทศ 80% ในปักกิ่งจะมารวมตัวกันอยู่ที่เขตนี้ ด้วยผลพลอยได้จากภาพลักษณ์ของบริษัทเหล่านี้ จึงทำให้มีแรงดึงดูดสูงต่อบริษัทมากด้วยศักยภาพเจ้าใหม่ที่จะเข้ามาในตลาดการเงิน
ภาพ : ย่าน CBD ของกรุงปักกิ่ง
ซีพี เซ็นเตอร์ ตึกแฝดที่ตั้งอยู่ในย่านนี้ ตั้งอยู่ใจกลาง “แยกทองคำ” ของย่าน CBD ปักกิ่ง ทางทิศเหนือติดกับถนน Guang Hua ทิศตะวันตกติดกับตึก CITIC Tower และ CCTV Headquarters มีถนนสายหลักล้อมรอบโครงการ อาทิ ถนน East 3rd Ring Road ถนน Chang An และ ถนน Guang Hua เป็นต้น ซึ่งสามารถเชื่อมเข้าสู่ส่วนต่าง ๆ ของเมืองได้อย่างสะดวกสบาย ทั้งยังพร้อมสรรพด้วยระบบขนส่งที่หลากหลาย มีบริษัทชั้นนำ Top 500 ของโลกที่มีความมั่นคงและมีอนาคตไกลตัดสินใจมาตั้งสำนักงานที่อาคารแห่งนี้แล้ว อาทิ ROCHE และ IBM เป็นต้น
ภาพ : ซีพี เซ็นเตอร์ ปักกิ่ง
การเลือกสถานที่ตั้งของสถาบันการเงินต้องคำนึงถึงทั้งเรื่องตำแหน่งที่ตั้งและฮาร์ดแวร์ของสำนักงาน รวมถึงคุณภาพและสิ่งที่ซ่อนอยู่ภายในสิ่งแวดล้อมของสำนักงานและการบริการที่เอื้อต่อการทำงาน โดยปกติวิธีการได้ผลโดยตรงที่สุด คือการเลือกสถานที่ตั้งสำนักงานเกรด A+
ในฐานะที่อาคารซีพี เซ็นเตอร์ เป็นอาคารสำนักงานแบบบูรณาการเกรด A+ ที่มีความเป็นสากล ภายในอาคารซีพี เซ็นเตอร์จึงได้รวมเอาบริการสำนักงานเกรด A+ ธุรกิจแบรนด์ใหญ่ ห้องประชุมและส่วนจัดงานนิทรรศการเกรด A+ เอาไว้ด้วยกัน ทั้งยังมีสถาบันการเงินชั้นนำที่มีความหลากหลายมารวมอยู่ที่นี่ ซึ่งเริ่มเห็นถึงผลลัพธ์ของการที่บริษัทเหล่านี้มาอยู่รวมกันแล้ว อาทิ PayPal ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่ Top 500 จากสหรัฐอเมริกา บริษัทด้านการลงทุน Mubadala Investment Company บริษัท Airwallex ผู้นำด้านโซลูชั่นการชำระเงินระหว่างประเทศ บริษัทกจัดการลุงทุน CIGNA บริษัท Riverhead Capital บริษัท Beijing Shougang Fund บริษัท Zheng Yuan Investment บริษัทประกัน Wu Tong Shu บริษัท CP Investment ในเครือ CP โดยบริษัทเหล่านี้ได้เข้ามาตั้งสำนักงานภายในอาคารแล้ว
การติดต่อสื่อสารกับบริษัททั่วโลกโดยไม่ต้องก้าวออกจากอาคาร ระบบนิเวศทางธุรกิจที่ครบจบอยู่ในอาคารเดียว พัฒนาให้เป็นรูปแบบที่มีหลายบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันมารวมอยู่ด้วยกัน เป็นโมเดลอันเป็นเอกลักษณ์ของอาคารซีพี เซ็นเตอร์
บุคลากรในสายการเงินเป็นบุคลากรที่มีประวัติการศึกษาดีและมีรายได้สูง จึงมีความต้องการด้านคุณภาพชีวิตการทำงานที่สูงตามไปด้วย ภายในอาคารสำนักงาน อาคารซีพี เซ็นเตอร์เป็นอาคารที่ผสมผสานระหว่างสำนักงาน ร้านค้าและธรุกิจอื่นๆ เอาไว้ด้วยกัน ในส่วนร้านค้า ภายในอาคารมีการจัดร้านอาหารในคอนเซ็ปต์ “ท่องไปทั่วแดนจีน” ซึ่งได้รวมเอาอาหารอันเป็นเอกลักษณ์ของเมืองจีนในแต่ละภาคพื้นมาไว้ด้วยกัน มีร้านอาหารระดับมิชลินสตาร์ ร้านอาหารสุดหรูระดับ Black Pearl บริการทางธุรกิจและร้านค้าในหมวดไลฟ์สไตล์ ซึ่งความหลากหลายนี้สามารถตอบสนองความต้องการระดับสูงของนักธุรกิจได้เป็นอย่างดี อาคารซีพี เซ็นเตอร์มุ่งเน้นในการนำประสบการณ์การใช้ชีวิตชั้นสูงอันละเมียดละไมของนักธุรกิจมาไว้ในสถานที่ทำงาน และได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับนักชิมอาหารชั้นเลิศแห่งใหม่ของกรุงปักกิ่งแล้ว
อีกหนึ่งความภาคภูมิใจคือ อาคารซีพี เซ็นเตอร์ ได้รับ LEED Certification ในระดับ Gold ว่าเป็นอาคารสีเขียวจากคณะกรรมการ LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) ของสหรัฐอเมริกา ถือเป็นการรับประกันว่าอาคารแห่งนี้มีการก่อสร้างสีเขียว มีการดำเนินงานสีเขียว และมีการบริหารจัดการอาคารสีเขียว ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ นอกจากนี้ภายในอาคารยังติดตั้งระบบฟอกอากาศที่ฆ่าเชื้อด้วยระบบ UV มีระบบ Face Recognition ระบบการเข้า-ออกอาคารอัจฉริยะที่เชื่อมประตูกั้นเข้าออกกับการเลือกชั้นโดยสารลิฟท์เข้าด้วยกัน เป็นต้น โดยภายในอาคารมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เห็นซึ่งสามารถเห็นได้ในทุกส่วนของอาคาร จึงช่วยสร้างสภาพแวดล้อมของสำนักงานที่มีคุณภาพและสะดวกสบาย
ภาพ : ประกาศนียบัตร LEED GOLD ของอาคารซีพี เซ็นเตอร์
ภาพ : โถงชั้น 2 บนอาคารซีพี เซ็นเตอร์ ตึกใต้
สิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของอาคารซีพี เซ็นเตอร์ ยังประกอบด้วย CP Treasury ที่ให้บริการเก็บทรัพย์สินของบุคคล อุปกรณ์หรือเอกสารสำคัญขององค์กร รวมถึงห้องโถงจัดงานแบบพาโนรามาแห่งแรกในกรุงปักกิ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจในความต้องการขององค์กรและนักธุรกิจที่เข้ามาใช้อาคารสำนักงาน
ภาพ : ห้องโถง CP บนชั้น 4 อาคารซีพี เซ็นเตอร์
เพื่อเป็นพันธมิตรที่รุ่งเรืองไปด้วยกันกับธุรกิจภายในอาคาร ศูนย์ซีพีเซ็นเตอร์จึงให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้เช่าเป็นอันดับแรกเสมอ ยืนหยัดเดินหน้าสร้างระบบนิเวศในสำนักงานที่เป็นสากลเพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจชั้นแนวหน้า ซึ่งทำให้อาคารแห่งนี้กลายเป็นตัวเลือกแรกๆ ของธุรกิจด้านการเงิน ธุรกิจที่มีศักยภาพ และธุรกิจที่มีอนาคตก้าวไกล
ข่าวดี ซีพีเซ็นเตอร์ได้รับการรับรอง LEED ระดับโกลเด้น